วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

6. ขั้นตอนการผลิตรายการและสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์

6. ขั้นตอนการผลิตรายการและสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์
                ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการผลิตรายการหรือสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้
                1. Preproduction consultation :  เป็นขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการในระบบคือ การรับเรื่องราว สาระข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือรายการจากลูกค้า และขอทราบความต้องการของลูกค้าวัตถุประสงค์  กลุ่มผู้ชมเป้าหมาย ความยาวของสื่อ และรูปแบบของรายการที่ต้องการ
                2. Approach or outline development : เป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของเรื่อง ซึ่งจะเขียนเป็น treatment ขึ้นมาหรือนำเสนอด้วยวาจาต่อลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติแนวคิดนี้
                3. Scripting : เป็นขั้นตอนในการเขียนบทถ่ายทำสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ลูกค้าอนุมัติบทถ่ายทำนั้น
                4. Storyboarding or blocking : storyboard เป็นรูปแบบของบทถ่ายทำอีกลักษณะหนึ่งที่มีภาพประกอบชัดเจนขึ้น ซึ่งลูกค้าและ producer จะทำความเข้าใจร่วมกันและอนุมัติ storyboard นั้น
                5. Shooting or image acquisition : เป็นขั้นของการถ่ายทำ หรือบันทึกภาพตามบทถ่ายทำ ในสถานที่จริง
                6. Editing/Post production : เป็นขั้นของการดำเนินการหลังการถ่ายทำซึ่งกระทำใน studio งานที่สำคัญในส่วนนี้คือการตัดต่อ (editing) ซึ่งเป็นการตัดต่อและดำเนินการทั้งpictures, sound, narration, graphics, animation, และ special effects รวมเข้าด้วยกัน  ในขั้นตอนนี้ลูกค้าอาจจะเข้าร่วมด้วยได้ หรือจะชมเมื่อกระบวนการ post production เสร็จสิ้นแล้วก็ได้
                7. Audio/Voice narration recording : ขั้นตอนการบันทึกเสียงคำบรรยาย ซึ่งจะใช้นักให้เสียงอาชีพ รวมทั้งการประกอบเสียงประกอบต่างๆ สำหรับรายการนั้น
                8. Music/Sound effects/sweetening : เป็นขั้นของการประกอบดนตรี  ซึ่งอาจจะเป็นการทำดนตรีขึ้นมาใหม่โดยนักแต่งเพลง เรียบเรียงเสียงประกอบ หรืออาจจะใช้ดนตรีประกอบที่ได้ทำไว้แล้วก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีอยู่ รวมทั้งลักษณะรายการที่ต้องการดนตรีเฉพาะหรือเไม่เพียงใด 
                9. Review/Evaluation and approval : ขั้นของการให้ลูกค้าชมชิ้นงาน และอนุมัติหากเป็นที่พึงพอใจ

                10. Duplication and distribution : เมื่อชิ้นงานนั้นได้รับการอนุมัติจากเจ้าของงานแล้ว จะทำสำเนาและแจกจ่ายออกไป ซึ่งอาจจะส่งสถานีโทรทัศน์ หรือแจกจ่ายไปตามกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

5. มุมกล้อง (Camera Angles)

5. มุมกล้อง (Camera Angles)
                ในภาพยนตร์บันเทิงโดยทั่วไปการตั้งกล้องมิได้วางไว้แค่เฉพาะด้านหน้าตรงของผู้แสดงเท่านั้น แต่จะทำมุมกับผู้แสดงหรือวัตถุตลอดทั้งเรื่อง ยิ่งกล้องทำมุมกับผู้แสดงมากเท่าไร ก็ยิ่งสะดุดความสนใจมากขึ้นเท่านั้น และการใช้มุมกล้องต้องให้สอดคล้องกับการเล่าเรื่องด้วย
                เหตุผลของการเปลี่ยนมุมกล้องให้หลากหลายเพื่อใช้ติดตามผู้แสดง เปิดเผย/ ปิดบังเนื้อเรื่อง หรือตัวละคร เปลี่ยนมุมมอง บอกสถานที่ เน้นอารมณ์หรืออื่น ๆ อีกมากมายที่ต้องการสื่อความหมายบางอย่างของแอ็คชั่นที่เกิดขึ้นในฉากนั้นของผู้กำกับ
                มุมกล้องเกิดขึ้นจากการที่เราวางตำแหน่งคนดูให้ทำมุมกับตัวละครหรือวัตถุ ทำให้มองเห็นตัวละครในระดับองศาที่แตกต่างกัน จึงแบ่งมุมกล้องได้ 5 ระดับ คือ

                5.1. มุมสายตานก (Bird’s-eye view)
                                มุมชนิดนี้มักเรียกทับศัพท์ทำให้เข้าใจมากกว่า เป็นมุมถ่ายมาจากด้านบนเหนือศีรษะ ทำมุมตั้งฉากเป็นแนวดิ่ง 90 องศากับผู้แสดง เป็นมุมมองที่เราไม่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน จึงเป็นมุมที่แปลก แทนสายตานกที่อยู่บนท้องฟ้าหรือผู้กำกับบางคน เช่น Alfred Hitchcock ใช้แทนความหมาย  เป็นมุมของเทพเจ้าเบื้องบนที่ทรงอำนาจ มองลงมาหาตัวละครที่ห้อยอยู่บนสะพาน ตึก หน้าผา เพิ่ม  ความน่าหวาดเสียวมากขึ้น มุมกล้องที่คล้ายกับมุม Bird’s-eye view คือ aerial shot ซึ่งถ่ายมาจาก เฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินบ้างก็เรียกว่า helicopter shot หรือ airplane shot เป็นช็อตเคลื่อนไหวถ่ายมาจากด้านบนทั้งสิ้น

                5.2. มุมสูง (High-angle shot)
                                คือมุมสูงกล้องอยู่ด้านบนหรือวางไว้บนเครน (crane) ถ่ายกดมาที่ผู้แสดง แต่ไม่ตั้งฉากเท่าBird’s-eye view ประมาณ 45 องศา เป็นมุมมองที่เห็นผู้แสดงหรือวัตถุอยู่ต่ำกว่า ใช้แสดงแทน    สายตามองไปเบื้องล่างที่พื้น ถ้าใช้กับตัวละครจะให้ความรู้สึกต่ำต้อย ไร้ศักดิ์ศรี ไม่มีความสำคัญหรือเพื่อเผยให้เห็นลักษณะภูมิประเทศหรือความกว้างใหญ่ไพศาลของภูมิทัศน์เมื่อใช้กับภาพระยะไกล (LS)

                5.3. มุมระดับสายตา (Eye-level shot)
                                เป็นมุมที่มีความหมายตรงตามชื่อที่เรียก คือคนดูถูกวางไว้ในระดับเดียวกับสายตาของตัวละครหรือระดับเดียวกับกล้องที่วางไว้บนไหล่ของตากล้อง โดยผู้แสดงไม่เหลือบสายตาเข้าไปในกล้องในระหว่างการถ่ายทำ มุมระดับสายตานี้ถึงแม้จะเป็นมุมที่เราใช้มองในชีวิตประจำวัน แต่ก็ถือว่าเป็นมุมที่สูงเล็กน้อย เพราะโดยปกติมักใช้กล้องสูงระดับหน้าอก ซึ่งเรียกว่า a chest high camera angle หรือเป็นมุมปกติ (normal camera angle) ไม่ใช่มุมระดับสายตา ซึ่งเป็นมุมที่คนดูคุ้นเคยกับการดูหนังบนจอใหญ่ที่ถ่ายดาราภาพยนตร์ให้ดูใหญ่เกินกว่าชีวิตจริง larger-than-life

                5.4. มุมต่ำ (Low-angle shot)
                                คือมุมที่ต่ำกว่าระดับสายตาของตัวละคร แล้วเงยกล้องขึ้นประมาณ 70 องศา ทำให้เกิดผลทางด้านความลึกของซับเจ็คหรือตัวละคร มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมรูปทรงเรขาคณิตให้ความมั่นคง   น่าเกรงขาม   ทรงพลังอำนาจ ความเป็นวีรบุรุษ เช่น ช็อตของคิงคอง ยักษ์ ตึกอาคารสิ่งก่อสร้างสัตว์ประหลาด พระเอก เป็นต้น

                5.5. มุมสายตาหนอน (Worm’s-eye view)
                                คือมุมที่ตรงข้ามกับมุมสายตานก (Bird’s-eye view)  กล้องเงยตั้งฉาก 90 องศากับตัวละคร หรือซับเจ็ค บอกตำแหน่งของคนดูอยู่ต่ำสุด มองเห็นพื้นหลังเป็นเพดานหรือท้องฟ้า เห็นตัวละครมีลักษณะเด่น เป็นมุมที่แปลกนอกเหนือจากชีวิตประจำวันอีกมุมหนึ่ง
                                ลักษณะของมุมนี้ เมื่อใช้กับซับเจ็คที่ตกลงมาจากที่สูงสู้พื้นดิน เคลื่อนบังเฟรม อาจนำไปใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างฉาก (transition) คล้ายการเฟดมืด (Fade out)

                5.6. มุมเอียง (Oblique angle shot)
                                เป็นมุมที่มีเส้นระนาบ (Horizontal line) ของเฟรมไม่อยู่ในระดับสมดุล เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเข้าหาเส้นตั้งฉาก (Verticle line) ความหมายของมุมชนิดนี้คือ ความไม่สมดุลลาดเอียงของพื้นที่ บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในสภาพไม่ดี เช่น ในฉากชุลมุนโกลาหล แผ่นดินไหว ถ้าใช้แทนสายตาตัวละคร หมายถึงคนที่เมาเหล้า หกล้ม สับสน ให้ความรู้สึกที่ตึงเครียด
                                มุมเอียงเป็นมุมที่ไม่ค่อยใช้บ่อยนัก ส่วนใหญ่ใช้ตามความหมายที่อธิบายในภาพยนตร์และมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Dutch angle, Tilted shot หรือ Canted shot เป็นต้น

                5.7. มุมเฝ้ามอง (Objective Camera Angle)
                                คือ มุมแอบมองหรือเฝ้ามองตัวละคร แอ็คชั่นและเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในหนัง เป็นมุมเดียวกับกล้องแต่มองไม่เห็นคนดู ซึ่งคนดูจะอยู่หลังกล้องโดยผ่านสายตาของตากล้อง หรือบางทีเป็นการถ่ายโดยคนแสดงไม่รู้ตัว เรียกว่า การแอบถ่าย (candid camera)

                5.8. มุมแทนสายตา (Subjective Camera Angle)
                                เป็นมุมมองส่วนตัว หรือเรียกว่า มุมแทนสายตา ซึ่งเป็นการนำพาคนดูเข้ามามีส่วนร่วมในภาพด้วย เช่น ผู้แสดงมองมาที่กล้อง ซึ่งจะให้ความรู้สึกเหมือนมองไปที่คนดูหรือพูดกับกล้อง เช่น    การอ่านข่าว การรายงานข่าวในทีวี เป็นต้น ลักษณะของมุมกล้องชนิดนี้ เป็นความสัมพันธ์กันระหว่างสายตาต่อสายตา (eye-to-eye relationship) มุมแทนสายตา แบ่งเป็น
                                                5.8.1 แทนสายตาคนดู เป็นการกำหนดตำแหน่งคนดูให้เป็นส่วนหนึ่งของฉากนั้นเช่น คนดูถูกพาให้เข้าชมโบราณสถาน พาเที่ยว คนดูจะได้เห็นเหตุการณ์ของแต่ละฉาก หรือกล้องอาจถูกทิ้งมาจากที่สูง แทนสายตามาจากที่สูง แทนคนดูตกลงมาจากที่สูง ภาพแทนสายตาของนักบิน รถแข่ง พายเรือ ดำน้ำ สกี รถไฟเหาะตีลังกา
                                                5.8.2 กล้องแทนสายตาตัวละคร เป็นการเปลี่ยนสายตาของคนดูจากการเฝ้าแอบมองมาเป็นแทนสายตาในทันที ซึ่งคนดูก็ได้เห็นร่วมกันดับตัวละครหรือผู้แสดง เช่น ตัวละครมองออกไปนอกกรอบภาพ จากนั้นภาพตัดไปเป็นมุมแทนสายตาของตัวละคร การแพนช็อตหรือ traveling shot ในภาพยนตร์สารคดีส่วนใหญ่ กล้องมักทำหน้าที่แทนสายตาของคนดู


                5.9.  มุมมองใกล้ชิด (Point-of-view Camera Angles)
                                มุมมองใกล้ชิดนี้มักเรียกง่าย ๆ ว่า มุมพีโอวี (POV) เป็นมุมกึ่งระหว่าง มุม objective และมุม subjective แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ถือว่าเป็นมุม objective หรือมุมแอบมอง และส่วนใหญ่ขนาด ภาพที่ใช้มักเป็นภาพระยะใกล้กับระยะปานกลาง เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพแสดงออกของ  ใบหน้าตัวละคร เห็นรายละเอียดชัดเจน

                               การใช้มุมกล้องต้องคำนึงถึงพื้นที่ (space) และมุมมอง (viewpoint) ซึ่งตำหน่งของกล้องเป็นตัว กำหนดพื้นที่ว่าจะมีขอบเขตเพียงใดจากที่ซึ่งคนดูมองเห็นเหตุการณ์ ซึ่งต้องสัมพันธ์กันทั้งหมด ทั้งขนาดภาพ มุมมอง และความสูงของกล้อง

4. ขนาดภาพ

4. ขนาดภาพ
                ในหลักปฏิบัติแล้วมักใช้ 3 ขนาด คือ ขนาดภาพระยะไกล ระยะปานกลาง และระยะใกล้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นขนาดเรียกกว้าง ๆ ที่เขียนไว้ในบทภาพยนตร์ ซึ่ง ใช้รูปร่างของคนเป็นตัวกำหนดขนาดของภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถแบ่งย่อยขนาดของภาพได้อีกและมีชื่อเรียกชัดเจนขึ้นดังนี้



                4.1.  ภาพระยะไกลมากหรือระยะไกลสุด (Extreme Long Shot / ELS)
                                ได้แก่ ภาพที่ถ่ายภายนอกสถานที่โล่งแจ้ง มักเน้นพื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาล เมื่อเปรียบ เทียบกับสัดส่วนของมนุษย์ที่มีขนาดเล็ก ภาพ ELS ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการเปิดฉากเพื่อบอกเวลาและสถานที่ อาจเรียกว่า Establishing Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่แสดงความยิ่งใหญ่ของฉากหลังหรือแสดงแสนยานุภาพของตัวละครในหนังประเภทสงครามหรือหนังประวัติศาสตร์ ส่วนช็อตที่ ใช้ตามหลังมักเป็นภาพระยะไกล (LS) แต่ในภาพยนตร์หลายเรื่องใช้ภาพระยะใกล้ (CU) เปิดฉากก่อนเพื่อเป็นการเน้นเรียกจุดสนใจหรือบีบอารมณ์คนดูให้สูงขึ้นอย่างทันทีทันใด


                4.2.  ภาพระยะไกล (Long Shot /LS)
                                ภาพระยะไกล เป็นภาพที่ค่อนข้างสับสนเพราะมีขนาดที่ไม่แน่นอนตายตัว บางครั้งเรียก ภาพกว้าง (Wide Shot) เวลาใช้อาจกินความตั้งแต่ภาพระยะไกลมาก (ELS) ถึงภาพระยะไกล (LS)ซึ่งเป็นภาพขนาดกว้างแต่สามารถเห็นรายละเอียดของฉากหลังและผู้แสดงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบ  กับภาพระยะไกลมาก หรือเรียกว่า Full Shot เป็นภาพกว้างเห็นผู้แสดงเต็มตัว ตั้งแต่ศีรษะจนถึงส่วนเท้า
                                ภาพระยะไกล (LS) บางครั้งนำไปใช้เปรียบเทียบเหมือนกับขนาดภาพระหว่างหนังกับ  ละครที่คนดูมองเป็นเท่ากัน คือ สามารถเห็นแอ็คชั่นหรืออากัปกริยาของผู้แสดงเต็มตัวและชัดเจนพอ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าหนังของชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) มักใช้ขนาดภาพนี้กับภาพปานกลาง (MS) ถ่ายทอดอารมณ์ตลกประสบความสำเร็จในหนังเงียบของเขา


                4.3.  ภาพระยะไกลปานกลาง (Medium Long Shot / MLS)
                                เป็นภาพที่เห็นรายละเอียดของผู้แสดงมากขึ้นตั้งแต่ศีรษะจนถึงขา หรือหัวเข่า ซึ่งบางครั้งก็ เรียกว่า Knee Shot เป็นภาพที่เห็นตัวผู้แสดงเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับฉากหลังหรือเห็นเฟอร์นิเจอร์ในฉากนั้น


                4.4.  ภาพระยะปานกลาง (Medium Shot /MS)
                                ภาพระยะปานกลาง เป็นขนาดที่มีความหลากหลายและมีชื่อเรียกได้หลายชื่อเช่นเดียวกันแต่โดยปกติจะมีขนาดประมาณตั้งแต่หนึ่งในสี่ถึงสามในสี่ของร่างกาย บางครั้งเรียกว่า Mid Shot หรือ Waist Shot ก็ได้ เป็นช็อตที่ใช้มากสุดอันหนึ่งภาพยนตร์
                                ภาพระยะปานกลางมักใช้เป็นฉากสนทนาและเห็นแอ็คชั่นของผู้แสดง นิยมใช้เชื่อมเพื่อรักษาความต่อเนื่องของภาพระยะไกล (LS) กับภาพระยะใกล้ (CU)



                4.5.  ภาพระยะใกล้ปานกลาง (Medium Close-Up / MCU)
                                เป็นภาพแคบ คลอบคลุมบริเวณตั้งแต่ศีรษะถึงไหล่ของผู้แสดง ใช้สำหรับในฉากสนทนาที่เห็นอารมณ์ความรู้สึกที่ใบหน้า ผู้แสดงรู้สึกเด่นในเฟรม บางครั้งเรียกว่า Bust Shot มีขนาดเท่ารูปปั้นครึ่งตัว

           
                4.6.  ภาพระยะใกล้ (Close-Up / CU)
                                เป็นภาพที่เห็นบริเวณศีรษะและบริเวณใบหน้าของผู้แสดง มีรายละเอียดชัดเจนขึ้น เช่น ริ้วรอยบนใบหน้า น้ำตา ส่วนใหญ่เน้นความรู้สึกของผู้แสดงที่สายตา แววตา เป็นช็อตที่นิ่งเงียบมากกว่าให้มีบทสนทนา โดยกล้องนำคนดูเข้าไปสำรวจตัวละครอย่างใกล้ชิด


                4.7.  ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close-Up /ECU หรือ XCU)
                                เป็นภาพที่เน้นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ตา ปาก เท้า มือ เป็นต้น ภาพจะถูกขยายใหญ่บนจอ เห็นรายละเอียดมาก เป็นการเพิ่มการเล่าเรื่องในหนังให้ได้อารมณ์มากขึ้น เช่น ในช็อตของหญิงสาวเดินทางกลับบ้านคนเดียวในยามวิกาลบนถนน เราอาจใช้ภาพ ECU ด้านหลังที่ หูของเธอเพื่อเป็นการบอกว่าเธอได้ยินเสียงฝีเท้าแผ่ว ๆ ที่กำลังติดตามเธอ  จากนั้นอาจใช้ภาพระยะ  นี้ที่ตาของเธอเพื่อแสดงความหวาด กลัว เป็นช็อตที่เราคุ้นเคยกัน แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ได้ในความหมายอื่นๆ โดยอาศัยแสงและมุมมองเพื่อหารูปแบบการใช้ให้หลากหลายออกไป

                                นอกจากนี้มีช็อตอื่น ๆ ที่เรียกโดยใช้จำนวนของผู้แสดงเป็นหลัก เช่น Two Shot คือ มีผู้ แสดง 2 คน อยู่ในเฟรมเดียวกัน ในยุโรปบางแห่งเรียก American Shot เพราะสมัยก่อนนิยมใช้กันมากในฮอลลีวู้ด Three Shot คือ มีผู้แสดง 3 คน อยู่เฟรมเดียวกัน และถ้าหากผู้แสดงมีมากกว่าจำนวนนี้ขึ้น เรียกว่า Group Shot ขนาดที่ใช้มักเป็นภาพปานกลาง

3. งานกล้อง (Camera Work)

3. งานกล้อง  (Camera Work) 
                3.1. สติลช็อต (Still Shot) คือการถ่ายภาพโดยไม่เคลื่อนกล้องใช้มากในการถ่ายทำรายการทั่วไป โดยปกติกล้องจะโฟกัสอยู่บนวัตถุหรือบุคคลที่ต้องการออกอากาศมากที่สุด ในสติลช็อตเช่นนี้ถ้าจัดองค์ประกอบของภาพไม่ดี จะปรากฏให้เห็นชัดเจนบนจอโทรทัศน์
                3.2. แพนและทิลท์ (Pan & Tilt)  คือการถ่ายโดยการหมุนหน้ากล้องไปในแนวระดับหรือแนวนอน  แต่ไม่เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งของกล้อง เรียกว่า  แพน”  การถ่ายโดยยกหน้ากล้องขึ้นหรือกดลงในแนวดิ่งเรียกว่า  ทิลท์”  แต่มันเรียกรวมกันว่า  แพน”  เช่น  แพนขึ้นท้องฟ้า”  หรือ  แพนลงพื้น”  จุดประสงค์ในการใช้แพนหรือทิลท์  ก็คือ
                                ๐  เพื่อให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกจอภาพในขณะนั้น
                                ๐  เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ  โดยสัมพันธ์กัน
     ๐  เพื่อให้เห็นวัตถุที่ยาวหรือสูงเกินรัศมีกล้อง
    ๐  เมื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ
    ๐  เพื่อให้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบกัน
    ๐  เมื่อต้องการปรับองค์ประกอบของภาพ
    ๐  เมื่อต้องการเปลี่ยนฉาก
                3.3. ดอลลี่ (Dolly)  คือการเคลื่อนกล้องเข้าใกล้วัตถุเรียกว่า ดอลลี่ - อิน”  (dolly - in)  เมื่อเคลื่อนกล้องออกห่างจากวัตถุเรียกว่า  ดอลลี่ - เอ้าต์”  (dolly - out)  หรือ ดอลลี่ แบ็ก”  (dooly  - back)  จุดมุ่งหมายของการใช้ดอลลี่ คือ
                                ๐  เพื่อสร้างความน่าตื่นเต้น
                                ๐  เมื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหว
                                ๐  เพื่อให้มีมุมมองภาพที่หลากหลายแบบ
    ๐  เมื่อต้องการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของภาพ
                3.4. แทรค (Track) หมายถึงการเคลื่อนกล้องไปตามแนวนอนขณะกำลังถ่ายเรียกว่า แทรคกิ้ง”  (tracking)  ถ้ากล้องเคลื่อนไปรอบวัตถุเรียกว่า “follow - tracking”  ถ้ากล้องเคลื่อนไปรอบวัตถุ  โดยมีวัตถุเป็นศูนย์กลางเรียกว่า  “revolve - tracking”  การใช้แทรคมีจุดประสงค์ คือ
                                ๐  เพื่อให้ได้มุมภาพที่หลากหลาย
                                ๐  เมื่อต้องการให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับฉากหลัง (Background)
                                ๐  เพื่อให้รู้สึกว่าภาพมีความลื่นไหล
                                ๐  เพื่อให้บังเกิดผลที่น่าตื่นใจ
                3.5. ซูม (Zoom)  หมายถึงการเปลี่ยนขนาดของภาพด้วยการเปลี่ยนมุมหักเหของเลนส์ซูมโดยไม่ได้
เคลื่อนกล้องหรือวัตถุเรียกว่า ซูมถ้าเปลี่ยนจากมุมกว้างเป็นมุมแคบเรียกว่า ซูมอิน
(Zoom - in) ตรงข้ามเรียกว่า ซูมเอ้าต์” (Zoom - out) วัตถุประสงค์ของการใช้ซูม คือ
                                ๐  เมื่อต้องการเปลี่ยนขนาดของวัตถุอย่างช้าๆ
                                ๐  เมื่อต้องการให้ผู้ชมสนใจในวัตถุอย่างช้าๆ
                                ๐  เมื่อต้องการเห็นวัตถุนั้นอย่างชัดเจน
                                ๐  เพื่อให้บังเกิดผลที่น่าตื่นใจ
- เราใช้ซูมบ่อยมากในการถ่ายทำรายการ  จึงขอให้สังเกตบางประการเกี่ยวกับการ ใช้ซูมไว้ที่นี้
                                                ๐  อย่าใช้ซูมพร่ำเพรื่อ ใช้ดอลลี่หรือแทรคกิ้งบ้างในโอกาสที่สมควร
                                                ๐  ตั้งโฟกัสไว้ที่ปลายสุดแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปสู่ขนาดภาพที่ต้องการ
                     ๐  ซูมด้วยอัตราความเร็วที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับความต้องการในการ แสดงออก
                3.6. บูมและเครน (Boom & Crane) คือการถ่ายพร้อมกับการเลื่อนขาตั้งกล้องในแนวตั้ง  เรียกว่า  บูม”   ถ้าเคลื่อนขึ้น  เรียกว่า  บูมอัพ”   เลื่อนลงเรียกว่า  บูมดาวน์”   เลื่อนกล้องขึ้นลงโดยใช้เครนเรียกว่า  เครนอัพ”  และ  เครนดาวน์”  วัตถุประสงค์ของการบูม  คือเพื่อให้คงมุมกล้องที่ต้องการไว้ตลอดที่ต้องการไว้ตลอดเวลาที่ใช้บูม  และการใช้เครนก็เพื่อให้ได้มุมกล้องจากที่สูงและจากที่ต่ำได้อย่างต่อเนื่องโดยเลื่อนเครน
                                - ความแตกต่างระหว่าง ซูมอิน”  “กับดอลลี่อิน
จะใช้  ซูมอิน”  (ZI)  แทน  ดอลลี่อิน”  (DI)  ไม่ได้  ZI  ใช้ขยายส่วนให้แก่ภาพ ที่ต้องการ  DI  คือการเข้าไปใกล้เพื่อให้ได้รายละเอียดของภาพที่ต้องการ

ZI  กับ  DI  จะไม่ให้ผลที่แตกต่างกันถ้าถ่ายวัตถุสองมิติ  หรือถ่ายภาพไดอะแกรม   เราใช้  ZI  ได้ดีในการถ่ายตัวอักษรหรือภาพถ่าย  เพราะสามารถเลื่อนเข้าไปใกล้ได้ง่ายกว่า  และราบเรียบกว่าในอัตราความเร็วตามที่ต้องการ ในที่นี้จะยกตัวอย่างความแตกต่าง  ระหว่าง  ZI  กับ  DI  ให้เห็นชัด  

2. การถ่ายทำ

2. การถ่ายทำ
                การถ่ายทำ หมายถึง การถ่ายทำรายการในสตูดิโอ  ซึ่งอาจจะนำเสนอข้อมูลที่เตรียมไว้ตามจุดมุ่งหมายของ   การถ่ายทำ  สามารถจำแนกลักษณะการถ่ายทำออกเป็นประเภทต่างๆได้ดังต่อไปนี้


2.1. การถ่ายทำข่าว ในการถ่ายทำข่าวเป็นหน้าที่ของนักข่าว หรือสื่อมวลชน ซึ่งมีงานที่ จะต้องปฏิบัติแทบทุกวัน ทุกเวลา ช่างภาพหรือช่างกล้อง ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือโทรทัศน์ จะต้องมีความคล่องตัวสูงเลือกจังหวะ เวลาในการถ่ายทำได้ดี การถ่ายทำหรือการเดินกล้องต้องให้นิ่งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการถ่ายทำลักษณะนี้ แทบจะไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้องช่วยในการถ่ายและยิ่งไปกว่านั้น บรรดาช่างภาพหรือสื่อมวลชลมีจำนวนมาก ต่างคนต่างก็แย่งมุมกล้องที่ดี อาจกระทบกระทั่งหรือชนได้ง่ายมาก
                การถ่ายทำข่าว เป็นการถ่ายทำที่ไม่มีบทโทรทัศน์ (Script) เพียงแต่ช่างภาพจะต้องรู้ลำดับขั้นตอน ของเรื่องราวที่จะเกิดขึ้น จากนั้นก็วางแผนด้วยตนเองเหมือนกับมีบทโทรทัศน์อยู่ในสมองเลือกถ่ายทำในสิ่งที่จำเป็น และตั้งใจว่าจะนำเสนอในส่วนไหนบ้าง ซึ่งในกรณีที่ช่างภาพประสบการณ์สูงสามารถถ่ายทำภาพข่าวได้ดี ลำดับเหตุการณ์ไว้เรียบร้อย แทบจะไม่ต้องนำมาตัดต่อใหม่ด้วยซ้ำ โดยปกติทั่วไปแล้วการทำข่าวที่ดี ก่อนจะนำเสนอ ย่อมต้องมีการตัดต่อเพื่อให้ได้ภาพที่ดี ผสมกับเสียงที่เหมาะสมเป็นข่าวที่มีความน่าสนใจแก่ผู้ชม


2.2. การถ่ายภาพเหตุการณ์ เหตุการณ์อาจจะเป็นอะไรก็ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่พิจารณาแล้ว ว่าน่าสนใจ แปลกหาดูได้ยาก เช่นไฟไหม้ ตึกถล่ม หรือการประท้วงการชุมนุมตลอดจน เทศกาลงานประเพณีต่างๆ เจตนาในการถ่ายทำก็เพื่อจะบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ ไว้คล้ายๆกับการทำข่าว แต่มีรายละเอียดมากกว่า ความยาวของเรื่องราวจะบ่งบอกเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ หรือบ่งบอกได้นานกว่าการทำข่าว
                การถ่ายทำภาพเหตุการณ์ในบางเรื่องราว ก็มีความลำบากทุลักทุเลคล้ายการถ่ายทำข่าว เช่นไฟไหม้  ตึกถล่ม ฯลฯ ซึ่งไม่มีโอกาสใช้ขาตั้งกล้อง เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานๆ เช่น ขบวนแห่ในงานเทศกาลกลางพิธีต่างๆ ช่างภาพก็มีโอกาสใช้ขาจั้งกล้อง โอกาสที่จะได้ภาพที่ดีการเดินภาพได้นิ่งนวลย่อมมีมากกว่า การถ่ายภาพเหตุการณ์โดนทั่วไปแล้วไม่มีการเขียนบทโทรทัศน์ถ่ายทำตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ช่างภาพจะใช้ดุลยพินิจของตนเองเลือกมุมกล้องจังหวะภาพและลำดับเรื่องราวไว้ ด้วยเหตุนี้ชิ้นงานที่ออกมาจึงมีความแตกต่างกัน มีคุณค่าที่เปรียบเทียบกันได้ชัดเจน เพราะเหตุการณ์บางอย่างหาดูไม่ได้อีกแล้ว ด้วยเหตุการณ์นี้จึงนิยมเก็บไว้เป็น สต๊อก เพื่อนำไปใช้ประกอบในการนำเสนอเรื่องราวในโอกาสต่อๆไป


2.3. การถ่ายทำการแสดง การทำประเภทการแสดง อาจจะเป็นการถ่ายทำการแสดงต่างๆ ที่ จะจัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองการจัดประกวดการแข่งขัน ซึ่งอาจจะมีทั้งภายในอาคาร ในห้องประชุมใหญ่ หรือเป็นการแสดงกลางแจ้ง การแสดงจะถูกกำหนดขั้นตอนตามเวลาช่างภาพ หรือคณะผู้ถ่ายทำ อาจจะถ่ายทำโดยใช้กล้อง 1กล้อง หรือถ่ายเพื่อบันทึกและตัดต่อ โดยใช้กล้องพร้อมกัน 3-4 กล้องพร้อมด้วยเครื่องตัดต่อในการถ่ายทำลักษณะนี้ผู้กำกับหรือผู้ควบคุมการผลิตจะต้องรู้ขั้นตอนคร่าวๆ ของการแสดงและการตัดต่อภาพก็จะดำเนินไปได้ทันเรื่องราวการทำงานเป็นคณะ จะมีการประสามสัมพันธ์กันระหว่างช่างภาพ คนตัดต่อภาพ คนควบคุมเสียง คอมพิวเตอร์กราฟิก และผู้กำกับ การปฏิบัติการเป็นไปอัตโนมัติ เพราะการแสดงแต่ละรายการมีกำหนดเวลาและขั้นตอนที่จำกัด
                การถ่ายทำประเภทการแสดง อีกลักษณะหนึ่งก็คือ การที่แสดงนั้นถูกกำหนดขึ้นเพื่อการถ่ายทำ โดยตรง ลักษณะนี้คณะผู้ถ่ายทำหรือทีมงานสามารถเตรียมการล่วงหน้า กำหนดฉาก สถานที่จัดแสงและพบกล้องได้ หากการแสดงมีการผิดพลาดก็สามารถแสดงใหม่ ถ่ายทำใหม่ได้ เช่น การแสดงละครการแสดงบทบาท การสาธิตเรื่องการเรียนการสอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการถ่ายทำในแต่ละครั้ง ความพิถีพิถันของการถ่ายทำจะมีมากกว่าการทำข่าว หรือถ่ายเหตุการณ์ เพราะจะต้องดูทำเลที่ตั้ง (Location) พิจารณาสภาพของอากาศโดยรอบ พิจารณาดูแสง ท้องฟ้า และฉากหลังเพื่อความสวยงามของผลงานที่ผลิตออกมา


2.4. การถ่ายทำสารคดี การผลิตรายการโทรทัศน์หรือวีดีทัศน์ในเชิงสารคดีนั้น มีขอบข่าย กว้างขวางมาก อาจจะเป็นรายการสั้นๆ ต่อเนื่องกันเป็นตอนๆ อาจเป็นตอนเดียวจบ หรืออาจเป็นลักษณะการแนะนำสถานที แนะนำหน่อยงาน แนะนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์บางอย่างที่โดดเด่น ในสถานที่ต่างๆ ปัจจุบันมีหน่วยงานผลิตวีดีทัศน์เชิงสารคดี เป็นบริษัททำการผลิต รับงานทั่วไปและในต่างประเทศ
ในการดำเนินงานนั้น จะมีทีมงานรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งการติดต่อประสารงาน การทำบท โทรทัศน์และกองถ่ายทำ หากเป็นการเดินทางไปต่างประเทศก็มีการตัดต่อเรื่องราวระหว่างประเทศเพื่อให้ได้มาซึ่งความสะดวกและโอกาสที่ดี ในการผลิตรายการ โดยปกติแล้วจะมีการลงทุนค่อนข้างสูงบางครั้งต้องขึ้นเครื่องบินถ่ายทำเพื่อหาภาพมุมสูง ค่าใช้จ่ายสูงมาก อัตราค่าดำเนินการก็ย่อมสูงตาม
ในกรณีที่ผลิตสารคดีง่ายๆ เช่น แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สำคัญๆ หรือแนะนำ หน่วยงาน สถานบันต่างๆ ผู้ผลิตก็ต้องทำบทโทรทัศน์ให้น่าสนใจ การถ่ายทำก็จะเลือกโอกาสเวลาที่เหมาะสม หาวิธีการเพิ่มความสวยงามหรือเพิ่มสีสันให้กับเรื่องราวปกติวีดีทัศน์แนะนำจะใช้เวลา 10-15 นาที


2.5. การถ่ายทำวิวทิวทัศน์ พูดถึงวิวทัศน์ เป็นส่วนที่ช่วยให้เรื่องราวที่นำเสนอมีความ น่าสนใจเพิ่มมาก อากาศเพิ่มชีวิตชีวาให้กับผู้ชม เกิดความรู้สึกเกิดอารมณ์ได้มากมาย ความสวยงามของธรรมชาติ องค์ประกอบและสีสันต่างๆ บางครั้งก็เป็นการยากที่มนุษย์จะสรรค์สร้างขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น พระอาทิตย์ยามเช้า ฝูงนกที่โบยบินออกจากรังในขณะที่ท้องฟ้าเป็นสีทองเรืองรอง

วิวทิวทัศน์มีมากมายในการเลือกถ่ายทำเพื่อเก็บมาประกอบเรื่องราว อาจเป็นท้องทะเล  น้ำตก ทิวเขา ทิวไม้ บางครั้งอาจใช้โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นองค์ประกอบของภาพ ให้สัมพันธ์กับเรื่องราวที่นำเสนอบรรยากาศ ทำเล สถานที่ถ่ายทำโอกาสเวลาและจังหวะ ในการถ่ายทำอยู่ที่ดุลยพินิจของ ช่างภาพ ทะเลหมอก สายฝน รุ่งอรุณ หรือยามอัสดง แม้แต่บรรยากาศ ยามค่ำคืน ลำห้วย ลำธาร ใต้ท้องทะเลลึก ดอกไม้ใบหญ้าล้วนแต่มีคุณค่าทั้งสิ้น

1. การถ่ายทำรายการโทรทัศน์

1. ระบบการเผยแพร่ภาพโทรทัศน์
                การแพร่ภาพ (Television Broadcasting) เป็นการส่งกระจายภาพและเสียงออกไปในรูปสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เครื่องรับสามารถรับภาพและเสียงได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ ซึ่งจากเดิมที่เป็นการแพร่ภาพแบบไม่จำกัดผู้รับ และก็ได้พัฒนามาเป็นแบบแพร่ภาพเฉพาะทาง เช่น การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ( Satellite ) , การแพร่ภาพโทรทัศน์ผ่านสื่อนำสัญญาณ อาจรวมถึงการแพร่ภาพไปเฉพาะผู้รับที่เป็นสมาชิกหรือเคเบิลทีวี ( Cable TV )
                การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือการที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียงเหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบอนาล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และการส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมาจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้
ประเภทของสัญณาณโทรทัศน์
                1.1. โทรทัศน์อนาล็อก (Analog Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ - ส่งสัญญาณภาพ และเสียงในรูปสัญญาณอนาล็อกแบบ A.M. และ F.M. โดยมีการส่งเป็นสัญญาณแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการผสมคลื่นแบบ Vestigial Sideband (VSB) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่มีการใช้งานทั่วไป เช่น โทรทัศน์ที่เป็นระบบ NTSC, PAL และ SECAM  ซึ่งก็คือโทรทัศน์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือน แบบ SDTV
                                - ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์อนาล็อก
                                              การส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์สีได้พัฒนามาจากการส่งสัญญาณระบบโทรทัศน์แบบขาว-ดำ โดยที่ได้มีการกำหนดว่าการส่งสัญญาณระบบสีทุกระบบจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำสามารถรับสัญญาณได้ด้วย เพียงแต่จะเห็นเป็นภาพขาว-ดำเท่านั้น
                                                1) ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) ย่อมาจาก Nation Television System  Committee หรืออาจเรียกว่าระบบเอฟซีซี(FCC) เป็นระบบของสหรัฐอเมริกา ระบบนี้เป็นแม่แบบของระบบอื่นๆ ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการส่งภาพ 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือแทรกความถี่พาหะย่อยของสีลงในสัญญาณภาพโดยไม่รบกวนกัน แต่ข้อเสียของระบบนี้คือจะมีความเพี้ยนของสีเกิดขึ้น
                                                2) ระบบพาล(PAL) ย่อมาจาก Phase Alternative Line หรืออาจเรียกว่า ระบบซีซีไออาร์(CCIR) ระบบนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมนี โดย Dr.Walter Bruch เป็นระบบที่ปรับปรุงมาจากระบบเอ็นทีเอสซี(NTSC) เป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที ซึ่งหลักการของระบบนี้จะเหมือนกันกับหลักการของระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) โดยปรับปรุงเรื่องความผิดพลาดของสีที่เกิดจากเฟสที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา โดยมีวิธีการแก้ไขคือเพิ่มเฟสเข้าไป 180 องศา และเป็นระบบการส่งโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย
                                                3) ระบบซีแคม (SECAM) ย่อมาจาก Sequantiel Couleur a Memoire (sequential color with a memory) ได้ถูกคิดค้นโดย Henri de France นักวิจัยชาวฝรั่งเศสระบบนี้เป็นระบบที่มีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที หลักการของระบบนี้คือ แยกส่ง สัญญาณกำหนดความแตกต่างของสีสลับกันทีละเส้น ในเครื่องรับจะจับสัญญาณไว้ชุด หนึ่งเพื่อรวมกับสัญญาณในเส้นถัดไปทำให้ได้ภาพสีตรงตามสัญญาณภาพที่ส่งมา เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศทางแถบยุโรปและแอฟริกา

                1.2. โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital Television) เป็นโทรทัศน์ที่มีระบบการรับ –  ส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีรูปแบบมาตรฐานพัฒนามาจากโทรทัศน์อนาล็อกมีระบบการส่งสัญญาณภาพและเสียงแบบดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อก เป็นการผสมคลื่นแบบ COFDM โดยในหนึ่งช่องสัญญาณสามารถนำมาส่งได้หลายๆรายการโทรทัศน์( Program ) จึงเรียกได้อีกอย่างว่าการแพร่กระจายคลื่นแบบหลากหลายรายการ(Multicasting) การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV