3. งานกล้อง (Camera Work)
3.1. สติลช็อต (Still
Shot) คือการถ่ายภาพโดยไม่เคลื่อนกล้องใช้มากในการถ่ายทำรายการทั่วไป
โดยปกติกล้องจะโฟกัสอยู่บนวัตถุหรือบุคคลที่ต้องการออกอากาศมากที่สุด
ในสติลช็อตเช่นนี้ถ้าจัดองค์ประกอบของภาพไม่ดี จะปรากฏให้เห็นชัดเจนบนจอโทรทัศน์
3.2.
แพนและทิลท์ (Pan & Tilt) คือการถ่ายโดยการหมุนหน้ากล้องไปในแนวระดับหรือแนวนอน แต่ไม่เปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งของกล้อง
เรียกว่า “แพน” การถ่ายโดยยกหน้ากล้องขึ้นหรือกดลงในแนวดิ่งเรียกว่า “ทิลท์” แต่มันเรียกรวมกันว่า “แพน” เช่น “แพนขึ้นท้องฟ้า” หรือ “แพนลงพื้น” จุดประสงค์ในการใช้แพนหรือทิลท์ ก็คือ
๐ เพื่อให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกจอภาพในขณะนั้น
๐ เพื่อให้เห็นตำแหน่งที่ตั้งของสิ่งต่างๆ โดยสัมพันธ์กัน
๐ เพื่อให้เห็นวัตถุที่ยาวหรือสูงเกินรัศมีกล้อง
๐ เมื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ
๐ เพื่อให้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบกัน
๐ เมื่อต้องการปรับองค์ประกอบของภาพ
๐ เมื่อต้องการเปลี่ยนฉาก
3.3. ดอลลี่ (Dolly) คือการเคลื่อนกล้องเข้าใกล้วัตถุเรียกว่า “ดอลลี่ -
อิน” (dolly - in) เมื่อเคลื่อนกล้องออกห่างจากวัตถุเรียกว่า “ดอลลี่ - เอ้าต์” (dolly - out)
หรือ “ดอลลี่ – แบ็ก” (dooly
- back) จุดมุ่งหมายของการใช้ดอลลี่
คือ
๐ เพื่อสร้างความน่าตื่นเต้น
๐ เมื่อต้องการติดตามการเคลื่อนไหว
๐ เพื่อให้มีมุมมองภาพที่หลากหลายแบบ
๐ เมื่อต้องการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของภาพ
3.4. แทรค (Track) หมายถึงการเคลื่อนกล้องไปตามแนวนอนขณะกำลังถ่ายเรียกว่า
“แทรคกิ้ง”
(tracking) ถ้ากล้องเคลื่อนไปรอบวัตถุเรียกว่า
“follow - tracking” ถ้ากล้องเคลื่อนไปรอบวัตถุ
โดยมีวัตถุเป็นศูนย์กลางเรียกว่า “revolve
- tracking” การใช้แทรคมีจุดประสงค์
คือ
๐ เพื่อให้ได้มุมภาพที่หลากหลาย
๐
เมื่อต้องการให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับฉากหลัง (Background)
๐ เพื่อให้รู้สึกว่าภาพมีความลื่นไหล
๐ เพื่อให้บังเกิดผลที่น่าตื่นใจ
3.5. ซูม (Zoom) หมายถึงการเปลี่ยนขนาดของภาพด้วยการเปลี่ยนมุมหักเหของเลนส์ซูมโดยไม่ได้
เคลื่อนกล้องหรือวัตถุเรียกว่า “ซูม” ถ้าเปลี่ยนจากมุมกว้างเป็นมุมแคบเรียกว่า “ซูมอิน”
เคลื่อนกล้องหรือวัตถุเรียกว่า “ซูม” ถ้าเปลี่ยนจากมุมกว้างเป็นมุมแคบเรียกว่า “ซูมอิน”
(Zoom - in) ตรงข้ามเรียกว่า
“ซูมเอ้าต์” (Zoom - out) วัตถุประสงค์ของการใช้ซูม
คือ
๐ เมื่อต้องการเปลี่ยนขนาดของวัตถุอย่างช้าๆ
๐ เมื่อต้องการให้ผู้ชมสนใจในวัตถุอย่างช้าๆ
๐
เมื่อต้องการเห็นวัตถุนั้นอย่างชัดเจน
๐ เพื่อให้บังเกิดผลที่น่าตื่นใจ
-
เราใช้ซูมบ่อยมากในการถ่ายทำรายการ
จึงขอให้สังเกตบางประการเกี่ยวกับการ ใช้ซูมไว้ที่นี้
๐ อย่าใช้ซูมพร่ำเพรื่อ ใช้ดอลลี่หรือแทรคกิ้งบ้างในโอกาสที่สมควร
๐ ตั้งโฟกัสไว้ที่ปลายสุดแล้วจึงค่อยเปลี่ยนไปสู่ขนาดภาพที่ต้องการ
๐
ซูมด้วยอัตราความเร็วที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมกับความต้องการในการ แสดงออก
3.6. บูมและเครน (Boom & Crane) คือการถ่ายพร้อมกับการเลื่อนขาตั้งกล้องในแนวตั้ง เรียกว่า
”บูม”
ถ้าเคลื่อนขึ้น
เรียกว่า “บูมอัพ” เลื่อนลงเรียกว่า “บูมดาวน์” เลื่อนกล้องขึ้นลงโดยใช้เครนเรียกว่า “เครนอัพ” และ “เครนดาวน์” วัตถุประสงค์ของการบูม
คือเพื่อให้คงมุมกล้องที่ต้องการไว้ตลอดที่ต้องการไว้ตลอดเวลาที่ใช้บูม
และการใช้เครนก็เพื่อให้ได้มุมกล้องจากที่สูงและจากที่ต่ำได้อย่างต่อเนื่องโดยเลื่อนเครน
- ความแตกต่างระหว่าง
“ซูมอิน” “กับดอลลี่อิน”
จะใช้ “ซูมอิน” (ZI) แทน “ดอลลี่อิน” (DI) ไม่ได้ ZI ใช้ขยายส่วนให้แก่ภาพ ที่ต้องการ DI
คือการเข้าไปใกล้เพื่อให้ได้รายละเอียดของภาพที่ต้องการ
ZI กับ DI
จะไม่ให้ผลที่แตกต่างกันถ้าถ่ายวัตถุสองมิติ หรือถ่ายภาพไดอะแกรม เราใช้ ZI
ได้ดีในการถ่ายตัวอักษรหรือภาพถ่าย เพราะสามารถเลื่อนเข้าไปใกล้ได้ง่ายกว่า และราบเรียบกว่าในอัตราความเร็วตามที่ต้องการ
ในที่นี้จะยกตัวอย่างความแตกต่าง
ระหว่าง ZI กับ DI
ให้เห็นชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น